ที่นี่..จำหน่าย em บำบัดน้ำเสีย/ em หอมบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัดใช้แล้วกลิ่นหอมทันที

                                        

ที่นี่..จำหน่าย em บำบัดน้ำเสีย em หอมบำบัดน้ำเสีย ขาย em บำบัดน้ำเสีย สามารถใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ ใช้แล้วกลิ่นหอมทันที ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียและการดับกลิ่นน้ำที่เน่าเสียในบ่อบำบัดน้ำเสีย ต้องจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเท่านั้น ( em หอมคาซาม่า )

ที่มาของ em บำบัดน้ำเสีย ในนามแบรนด์ "  จุลินทรีย์หอมคาซาม่า "

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) พัฒนาและต่อยอดมาจากจุลินทรีย์อีเอ็มหรือ อีเอ็มเดิม ( em ) ด้วยคุณสมบัติที่เด่นๆในหลายๆด้าน เราได้เพิ่มคุณสมบัติในเรื่องกลิ่น จากกลิ่นเปรี้ยวให้มีกลิ่นหอมและเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับจุลินทรีย์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการย่อยสลายและการดับกลิ่นได้เป็นอย่างดี ลูกค้าส่วนใหญ่จะไม่ชอบกลิ่นของ em บำบัดน้ำเสียแบบเดิมๆ โดยเฉพาะการนำไปใช้ในการดับกลิ่นในห้องน้ำ เราจึงได้ปรับในเรื่องของกลิ่นให้เข้ากับความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะลูกค้าชาวต่างประเทศจะไม่ชอบกลิ่นของจุลินทรีย์em เดิม

  จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เน้นใน 2 เรื่องหลักๆ ดังต่อไปนี้คือ

1. การนำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสีย หรือเป็น em บำบัดน้ำเสีย นั่นเอง ด้วยคุณสมบัติเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียโดยไม่ใช้ออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย em บำบัดน้ำเสียจะทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียต่างๆเหมือนกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน จุดที่แตกต่างกันก็คือ em บำบัดน้ำเสียจะไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆ

2. การนำไปใช้ในการดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆที่เกิดจากสารอินทรีย์

จะเห็นได้ว่า จุลินทรีย์หอมคาซาม่า หรือ em บำบัดน้ำเสีย ได้ประโยชน์ทั้งในเรื่องของการบำบัดน้ำเสียและการดับกลิ่นในเวลาเดียวกัน ( em ดับกลิ่น ) ประการสำคัญคือ มีกลิ่นหอมทันทีที่ใช้งานจุลินทรีย์หอมคาซาม่า

   em บำบัดน้ำเสีย  ได้อย่างไร?

em บำบัดน้ำเสีย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสีย รวมถึงการดับกลิ่นหรือบำบัดกลิ่นต่างๆ เป็นการรวมกลุ่ม ( สังเคราะห์ ) ของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในด้านต่างๆนำมารวมไว้ในที่เดียวกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ในที่นี้เรานำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย และการดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ

การทำงานของ em บำบัดน้ำเสีย 

 em บำบัดน้ำเสีย ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) ทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียโดยไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ดังนั้น em บำบัดน้ำเสียกลุ่มนี้จึงไม่ไปแย่งออกซิเจนจากกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักในบ่อบำบัดน้ำเสียหรือในน้ำเสียที่ไปบำบัด และผลจากปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียต่างๆจะได้ตามสมการจำลองด้านล่างนี้ 

       

ภาพบนเป็นปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( em บำบัดน้ำเสีย ) โดยไม่ใช้ออกซิเจน จะได้ผลลัพธ์เป็นไปตามสมการด้านบนนี้ ในการบำบัดน้ำเสียของ em บำบัดน้ำเสียจะได้ก๊าซมีเทน ( CH4 ) เพิ่มขึ้นมาอีกตัวหนึ่ง 

  

จุลินทรีย์คืออะไร ?  


จุลินทรีย์หรือจุลชีพ ( Micro-organism ) คือ กลุ่มมีชีวิตขนาดเล็ก เป็นสัตว์เซลล์เดียว มีหลากหลายสายพันธุ์ มีทั้งประเภทใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพ  แบ่งได้ตามคุณลักษณะมี  3  กลุ่มด้วยกันคือ .-

1. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ จุลินทรีย์กลุ่มที่ให้ประโยชน์นี้มีทั้งประเภทใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน ให้ประโยชน์ต่อพืชและสัตว์ในหลายๆด้านด้วยกัน จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีกระจายอยู่ในธรรมชาติรวมกันประมาณ  10%  ของจุลินทรีย์รวมทุกๆสายพันธุ์ 

2.  กลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้โทษหรือกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีโทษ มีทั้งประเภทที่ใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน มีอยู่ในธรรมชาติประมาณ  10 % 

3.  กลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นกลาง มีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน เข้าร่วมกับกลุ่มใดก็ได้ใน 2 กลุ่มด้านบน จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีมากที่สุดประมาณ 80% ในธรรมชาติ

   จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียคืออะไร ? 

ของเสียทั้งหมดทั้งมวลบนโลกใบนี้ล้วนอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายทั้งสิ้น ซึ่งรวมทั้งน้ำเสียจากทุกๆแหล่ง และต้องเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียจัดอยู่ในกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์กลุ่มนี้ ซึ่งมีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะทำหน้าที่ในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียเพื่อให้มีขนาดโมเลกุลของเสียเล็กลงเรื่อยๆจนแปรเปลี่ยนสภาพสสารต่อไปกลายไปเป็น  น้ำ + พลังงาน + CO2  ในที่สุดของปฏิกิริยาตามสมการด้านล่างนี้ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาการย่อยสลายโดยกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ( ปฏิกิริยาการย่อยสลายของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ) 

   

ภาพบนเป็นการบำบัดน้ำเสียโดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในด้านการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดำรงชีพและเจริญเติบโตขยายเซลล์โดยการใช้ออกซิเจน ( ขาดออกซิเจนไม่ได้ ) มีอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติทั้งในดิน น้ำ อากาศ แต่อยู่แบบกระจัดกระจาย ในการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียจึงต้องคำนึงถึงการรวมกลุ่มกันของจุลินทรีย์กลุ่มนี้เป็นหลัก เพื่อการรวมกลุ่มของจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียที่ใช้ออกซิเจน เนื่องจากเราต้องการดึงกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนมาใช้งานในการย่อยสลายของเสียให้มีปริมาณมากที่สุด จึงต้องออกแบบระบบบำบัดให้เอื้ออำนวยสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลาย ของเสียต่างๆในน้ำเสียยิ่งมีมากก็ต้องใช้ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายมากตามไปด้วย ขาดจุลินทรีย์เมื่อใดหรือมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายมีน้อยจะเกิดปัญหาขึ้นทันที ทั้งค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์หรือเกิดปัญหาน้ำเน่าเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้น  ทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่า ถ้าโลกนี้ไม่มีกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียเหล่านี้ ของเสียต่างๆรวมทั้งน้ำเสียคงล้นโลกไปนานแล้ว โลกใบนี้คงเต็มไปด้วยมลพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม  

 ในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียในระบบบำบัดน้ำเสียทำได้ค่อนข้างยาก ต้องบริหารจัดการระบบในแต่ละจุดให้มีประสิทธิภาพ มีปัญหาในจุดใดจุดหนึ่งอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายได้ทุกเมื่อ เช่น เครื่องเติมอากาศเสีย  ค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมีน้อย ( ค่า DO ต่ำ ) เติมอากาศได้ไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้พบได้บ่อยๆในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ของประเทศไทยที่นิยมใช้กัน ระบบบำบัดล้มเหลวง่ายและบ่อยๆ ค่ามาตรฐานบางค่าหรือหลายๆค่าไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน้ำทิ้ง ซึ่งพบเป็นประจำและมีแทบทุกแห่ง ที่มีประสิทธิภาพจริงๆ ่ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ตลอดเวลาค่อนข้างจะหาได้ยาก ต้องมีการบริหารจัดการดูแลและบำรุงรักษาระบบบำบัดเป็นอย่างดีเยี่ยม ระบบบำบัดน้ำเสียจึงจะมีประสิทธิภาพได้เต็ม 100% ในการบำบัดน้ำเสีย 

  ทางเลือกในการแก้ไขปัญหาการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย 

อย่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า ในการบำบัดน้ำเสียให้ได้ประสิทธิภาพนั้นจะมีตัวแปรหลายๆอย่างมาเกี่ยวข้องในระบบ โดยเฉพาะปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลาย ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการบำบัดน้ำเสียและในระบบบำบัดน้ำเสียที่ขาดไม่ได้เลย ถ้าปราศจากจุลินทรีย์ย่อยสลายแล้ว ของเสียต่างๆบนโลกใบนี้ก็จะไม่ถูกย่อยสลาย ของเสียต่างๆก็จะล้นโลก ปัญหาของปริมาณจุลินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสียจึงถือว่าเป็นเรื่องสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่ในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียหรือในบ่อบำบัดน้ำเสีย ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มจุลนทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก การควบคุมค่อนข้างทำได้ยากมีข้อจำกัดหลายๆอย่างด้วยกัน ถ้าสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมหรือไม่เอื้อำนวยต่อการดำรงชีพ จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนก็ไม่สามารถเจริญเติบโตในบ่อบำบัดได้ 

  ดังนั้น  จึงมีการสังเคราะห์จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียขึ้นมาอีกกลุ่มหนึ่ง ทำหน้าที่ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้เหมือนๆกัน แต่มีจุดด่นตรงที่สามารถควบคุมปริมาณและเพิ่มปริมาณได้ตลอดเวลา ประการสำคัญจุลินทรีย์กลุ่มนี้ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ไม่มีการดึงออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆมาใช้ในการทำปฏิกิริยาและการดำรงชีพ จึงเป็นการช่วยเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียให้มากขึ้นและเร็วมากขึ้น ของเสียต่างๆในน้ำเสียจะเหลือน้อยลง ( ตะกอนส่วนเกิน )  

   จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ( em หอมบำบัดน้ำเสีย )  

จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมคาซาม่าตอบโจทย์การบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้ออกซิเจน ใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ ไม่ว่าระบบบำบัดนั้นๆจะมีออกซิเจนเพียงพอหรือไม่มีออกซิเจนเลย จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำงานย่อยสลายของเสียได้ตามปกติ ช่วยเพิ่มและเสริมประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย เพิ่มประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียได้มากขึ้นและเร็วขึ้น ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียและการกำจัดกลิ่น 

   จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย สังเคราะห์ขึ้นในห้องปฏิบัติการ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียและการกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ ควบคุมได้ง่าย สังเคราะห์ขึ้นได้ง่ายตามความต้องการ ต้องการให้มีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียในระบบบำบัดน้ำเสียมากหรือน้อยก็สามารถเพิ่มตามความต้องการได้ทันที ไม่ต้องใช้เทคนิคที่สลับซับซ้อนใดๆทั้งสิ้น  สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ โดยไม่มีผลกระทบใดๆต่อสิ่งแวดล้อมและกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน สามารถทำงานย่อยสลายร่วมกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้ดี จุลินทรีย์หอมคาซาม่าทำงานย่อยสลายของเสียได้ทั้งในสภาวะไร้อากาศและมีอากาศ ดังนั้น ถึงแม้ในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนเลย จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำงานย่อยสลายได้ตามแกติ และยังมีคุณสมบัติเด่นๆที่กลุ่มจุลินทรีย์อื่นไม่มี นั่นก็คือ การกำจัดกลิ่นหรือการดับกลิ่นไม่พึงประสงค์นั่นเอง 

 

ภาพจำลองบนเป็นปฏิกิริยาการย่อยสลายของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ซึ่งจะได้ก๊าซมีเทนเพิ่มขึ้นมา( CH4 ) เป็นปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในน้ำเสีย 

    

ภาพบนการบำบัดน้ำเสียที่ใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย 2 กลุ่ม คือ 
กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน และ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) 

                  

จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์อีเอ็มบำบัดน้ำเสีย ในนามแบรนด์ จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม ใช้แล้วมีกลิ่นหอมทันที ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสียและการดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นเน่าเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสีย ใช้ได้ดีกับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียคืออะไร? 

ในน้ำเสียจะมีสิ่งปนเปื้อนทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์และอื่นๆ ส่งผลให้น้ำเกิดการเน่าเสียขึ้น ดังนั้น หน้าที่ในการกำจัดน้ำเสียและสิ่งสกปรกปนเปื้อนต่างๆในน้ำเสียจึงเป็นหน้าที่โดยตรงของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี ถ้าปราศจากจุลินทรีย์เหล่านี้ บรรดาของเสียต่างๆและน้ำเสียคงล้นโลกไปนานแล้ว นี่คือบทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ซึ่งจะมีอยู่ในบ่อบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ เพียงแต่ระบบใดจะมีมากหรือมีน้อยกว่ากันเท่านั้น ถ้าระบบใดมีปริมาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียมากเพียงพอกับปริมาณน้ำเสียก็จะไม่เกิดปัญหาอะไร น้ำเสียในบ่อบำบัดก็สามารถบำบัดให้เป็นน้ำดีก่อนที่จะปล่อยทิ้งออกสู่สาธารณะสิ่งแวดล้อมต่อไป  แต่ถ้าระบบบำบัดน้ำเสียนั้นหรือบ่อบำบัดน้ำเสียนั้นมีปริมาณจุลินทรีย์น้อย ก็จะส่งผลให้ระบบไม่สมบูรณ์บำบัดน้ำเสียไม่ได้เต็มที่ น้ำเสียในบ่อได้รับการบำบัดเล็กน้อยและไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน น้ำเสียในบ่อบำบัดก็ยังคงเป็นน้ำเสียต่อไปและถูกปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม สร้างมลภาวะและมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมต่อๆไป จุลินทรีย์ในโลกใบนี้มีหลากหลายกลุ่ม หลากหลายสายพันธุ์ มีทั้งประเภทที่มีประโยชน์  ประเภทที่มีโทษ และประเภทที่เป็นกลางที่เข้ากับกลุ่มใดก็ได้ ในส่วนของจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียจะเป็นกลุ่มที่ให้ประโยชน์ ซึ่งมีทั้งประเภทที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักและไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย จึงเป็นที่มาของจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียนั่นเอง 

บำบัดน้ำเสียทำไมต้องใช้จุลินทรีย์ ? 

ระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ ไม่ว่าจะลงทุนมากเป็นร้อยล้านหรือน้อยขนาดไหนก็ตาม จุดประสงค์ของทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียก็เพื่อการดึงจุลินทรีย์ย่อยสลายในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียและการย่อยสลายของเสียนั่นเอง เหตุผลก็เพราะว่า ของเสียต่างๆทั้งหมดทั้งมวลในโลกใบนี้จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งสิ้น แม้กระทั่งวัตถุที่เป็นสารเคมี พลาสติกต่างๆแต่จะใช้เวลาที่นานขึ้น เพราะย่อยสลายได้ยาก ที่จุลินทรีย์ย่อยสลายได้ง่ายก็เป็นจำพวกอินทรีย์วัตถุทั้งหลาย จะใช้เวลาย่อยที่ไม่นานมาก การย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเป็นหน้าที่โดยตรงของจุลินทรีย์ย่อยสลาย ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มีอยู่ในธรรมชาติ แต่อาจจะมีปริมาณไม่มากพอกับปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจริง ที่ทำได้ง่ายๆขึ้นก็คือ การสังเคราะห์กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและมีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียขึ้นมาให้ได้ตามปริมาณที่ต้องการใช้งาน ซึ่งสามารถทำได้ง่ายกว่า จะเติมหรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์มากหรือน้อยลงในระบบบำบัดน้ำเสียสามารถทำได้ง่ายๆ การบำบัดน้ำเสียต้องใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายเท่านั้น ยกเว้นการใช้เคมีบำบัดในกรณีที่ของเสียนั้นๆเป็นสารเคมีซึ่งถูกต้อง  

การใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียหรือการเติมจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียปฏิบัติในขั้นตอนใด ?  

ถ้าท่านมีระบบบำบัดน้ำเสียอยู่แล้ว ไม่ว่าจะระบบใดๆก็ตาม เช่น ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ก็ให้เติมจุลินทรีย์ย่อยสลายลงในบ่อแรก ซึ่งเป็นบ่อรับน้ำเสียจากส่วนกลาง บ่อที่สองจะเป็นบ่อเติมอากาศ และบ่อที่สามจะเป็นบ่อพักน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สาธารณะ น้ำเสียมีมาก ก็ควรเติมจุลินทรีย์ให้มากตาม ปริมาณการเติมจะแปรผันตรงกับปริมาณของเสียหรือน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง กรณีที่มีจำนวนบ่อบำบัดน้ำเสียมากกว่านี้ควรปรึกษาผู้รู้ที่มีประสบการณ์ในระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อใช้ให้เหมาะสมและถูกต้องได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ 

 การเติมจุลินทรีย์ลงในระบบหรือในบ่อบำบัดน้ำเสีย เติมบ่อยแค่ไหน? 

ควรหมั่นเติมอย่างต่อเนื่อง เหตุผล เพราะของเสียมีอย่างต่อเนื่องและปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบมีน้อย เราควบคุมมันไม่ได้ เพราะมันอยู่ในธรรมชาติ อาจไม่เพียงพอกับปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจริง และหมั่นตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่างๆอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้น้ำดีออกมาอย่างสมบูรณ์ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียจะมีอายุสั้น ทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียเสร็จก็จะสลายตัวไปในธรรมชาติ และตัวใหม่ก็จะเกิดขึ้นมาทดแทนตัวที่สลายไปเป็นวัฎฎจักรเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ข้อเสียคือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียเหล่านี้จะอยู่แบบกระจัดกระจายทั่วๆไปในธรรมชาติ ไม่ค่อยจะอยู่เป็นกลุ่มก้อนสักเท่าใดนัก ดังนั้น ในบ่อบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จึงมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำเสียและของเสียที่เกิดขึ้นจริง การแก้ปัญหานี้เราจึงนิยมสังเคราะห์กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เหล่านี้ขึ้นมา เพื่อให้การรวมกลุ่มอยู่ในที่เดียวกันควบคุมได้และได้ปริมาณมากตามที่เราต้องการนำไปใช้งานนั่นเอง ( จุลินทรีย์อีเอ็ม ) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ไม่ต้องรอธรรมชาติเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในบ่อบำบัดให้ ซึ่งไม่ค่อยจะแน่นอน ขึ้นอยู่กับสภาวะหลายอย่างและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมจุลินทรีย์จึงจะรวมตัวกันได้ การวางระบบบำบัดน้ำเสียก็เพื่อต้องการดึงกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายเหล่านี้มาใช้งาน การพึ่งพาจากธรรมชาติไม่ค่อยจะแน่นอน ดังนั้น ในปัจจุบันเราจึงสร้างจุลินทรีย์ย่อยสลายขึ้นมาใช้งานโดยตรง ( ผลิตและสังเคราะห์ขึ้นมาเอง )  

 เรา คือ ผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและมีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียมีกลิ่นหอมทันทีที่ใช้งาน กำจัดกลิ่นบ่อบำบัดน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็นใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมดับกลิ่นบ่อบำบัดน้ำเสีย

  em บำบัดน้ำเสีย ราคา

    ราคาจำหน่าย em บำบัดน้ำเสีย แกลลอนบรรจุ  20  ลิตร  ราคา  1,200  บาท

         จัดส่งฟรีทั่วประเทศ ( ตามเงื่อนไขการจัดส่ง )

       

 

Visitors: 37,903