จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัดน้ำเสีย

   

จุลินทรีย์คืออะไร ?  

จุลินทรีย์หรือจุลชีพ ( Micro-organism ) คือ กลุ่มมีชีวิตขนาดเล็ก เป็นสัตว์เซลล์เดียว มีหลากหลายสายพันธุ์ มีทั้งประเภทใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพ  แบ่งได้ตามคุณลักษณะมี  3  กลุ่มด้วยกันคือ .-

1. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ จุลินทรีย์กลุ่มที่ให้ประโยชน์นี้มีทั้งประเภทใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน ให้ประโยชน์ต่อพืชและสัตว์ในหลายๆด้านด้วยกัน จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีกระจายอยู่ในธรรมชาติรวมกันประมาณ  10%  ของจุลินทรีย์รวมทุกๆสายพันธุ์

2.  กลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้โทษหรือกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีโทษ มีทั้งประเภทที่ใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน มีอยู่ในธรรมชาติประมาณ  10 %

3.  กลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นกลาง มีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน เข้าร่วมกับกลุ่มใดก็ได้ใน 2 กลุ่มด้านบน จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีมากที่สุดประมาณ 80% ในธรรมชาติ

   จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียคืออะไร ?

ของเสียทั้งหมดทั้งมวลบนโลกใบนี้ล้วนอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายทั้งสิ้น ซึ่งรวมทั้งน้ำเสียจากทุกๆแหล่ง และต้องเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียจัดอยู่ในกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์กลุ่มนี้ ซึ่งมีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะทำหน้าที่ในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียเพื่อให้มีขนาดโมเลกุลของเสียเล็กลงเรื่อยๆจนแปรเปลี่ยนสภาพสสารต่อไปกลายไปเป็น  น้ำ + พลังงาน + CO2  ในที่สุดของปฏิกิริยาตามสมการด้านล่างนี้ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาการย่อยสลายโดยกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ( ปฏิกิริยาการย่อยสลายของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก )

   

ภาพบนเป็นการบำบัดน้ำเสียโดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในด้านการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย ดำรงชีพและเจริญเติบโตขยายเซลล์โดยการใช้ออกซิเจน ( ขาดออกซิเจนไม่ได้ ) มีอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติทั้งในดิน น้ำ อากาศ แต่อยู่แบบกระจัดกระจาย ในการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียจึงต้องคำนึงถึงการรวมกลุ่มกันของจุลินทรีย์กลุ่มนี้เป็นหลัก เพื่อการรวมกลุ่มของจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียที่ใช้ออกซิเจน เนื่องจากเราต้องการดึงกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนมาใช้งานในการย่อยสลายของเสียให้มีปริมาณมากที่สุด จึงต้องออกแบบระบบบำบัดให้เอื้ออำนวยสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลาย ของเสียต่างๆในน้ำเสียยิ่งมีมากก็ต้องใช้ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายมากตามไปด้วย ขาดจุลินทรีย์เมื่อใดหรือมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายมีน้อยจะเกิดปัญหาขึ้นทันที ทั้งค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์หรือเกิดปัญหาน้ำเน่าเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้น  ทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่า ถ้าโลกนี้ไม่มีกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียเหล่านี้ ของเสียต่างๆรวมทั้งน้ำเสียคงล้นโลกไปนานแล้ว โลกใบนี้คงเต็มไปด้วยมลพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม  

 ในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียในระบบบำบัดน้ำเสียทำได้ค่อนข้างยาก ต้องบริหารจัดการระบบในแต่ละจุดให้มีประสิทธิภาพ มีปัญหาในจุดใดจุดหนึ่งอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายได้ทุกเมื่อ เช่น เครื่องเติมอากาศเสีย  ค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมีน้อย ( ค่า DO ต่ำ ) เติมอากาศได้ไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้พบได้บ่อยๆในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ของประเทศไทยที่นิยมใช้กัน ระบบบำบัดล้มเหลวง่ายและบ่อยๆ ค่ามาตรฐานบางค่าหรือหลายๆค่าไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน้ำทิ้ง ซึ่งพบเป็นประจำและมีแทบทุกแห่ง ที่มีประสิทธิภาพจริงๆ ่ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ตลอดเวลาค่อนข้างจะหาได้ยาก ต้องมีการบริหารจัดการดูแลและบำรุงรักษาระบบบำบัดเป็นอย่างดีเยี่ยม ระบบบำบัดน้ำเสียจึงจะมีประสิทธิภาพได้เต็ม 100% ในการบำบัดน้ำเสีย

  ทางเลือกในการแก้ไขปัญหาการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย

อย่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า ในการบำบัดน้ำเสียให้ได้ประสิทธิภาพนั้นจะมีตัวแปรหลายๆอย่างมาเกี่ยวข้องในระบบ โดยเฉพาะปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลาย ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการบำบัดน้ำเสียและในระบบบำบัดน้ำเสียที่ขาดไม่ได้เลย ถ้าปราศจากจุลินทรีย์ย่อยสลายแล้ว ของเสียต่างๆบนโลกใบนี้ก็จะไม่ถูกย่อยสลาย ของเสียต่างๆก็จะล้นโลก ปัญหาของปริมาณจุลินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสียจึงถือว่าเป็นเรื่องสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่ในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียหรือในบ่อบำบัดน้ำเสีย ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มจุลนทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก การควบคุมค่อนข้างทำได้ยากมีข้อจำกัดหลายๆอย่างด้วยกัน ถ้าสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมหรือไม่เอื้อำนวยต่อการดำรงชีพ จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนก็ไม่สามารถเจริญเติบโตในบ่อบำบัดได้

  ดังนั้น  จึงมีการสังเคราะห์จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียขึ้นมาอีกกลุ่มหนึ่ง ทำหน้าที่ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้เหมือนๆกัน แต่มีจุดด่นตรงที่สามารถควบคุมปริมาณและเพิ่มปริมาณได้ตลอดเวลา ประการสำคัญจุลินทรีย์กลุ่มนี้ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ไม่มีการดึงออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆมาใช้ในการทำปฏิกิริยาและการดำรงชีพ จึงเป็นการช่วยเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียให้มากขึ้นและเร็วมากขึ้น ของเสียต่างๆในน้ำเสียจะเหลือน้อยลง ( ตะกอนส่วนเกิน ) 

   จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย 

จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมคาซาม่าตอบโจทย์การบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้ออกซิเจน ใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ ไม่ว่าระบบบำบัดนั้นๆจะมีออกซิเจนเพียงพอหรือไม่มีออกซิเจนเลย จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำงานย่อยสลายของเสียได้ตามปกติ ช่วยเพิ่มและเสริมประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย เพิ่มประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียได้มากขึ้นและเร็วขึ้น ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสียและการกำจัดกลิ่น

   จุลินทรีย์หอมคาซาม่า เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย สังเคราะห์ขึ้นในห้องปฏิบัติการ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียและการกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ ควบคุมได้ง่าย สังเคราะห์ขึ้นได้ง่ายตามความต้องการ ต้องการให้มีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียในระบบบำบัดน้ำเสียมากหรือน้อยก็สามารถเพิ่มตามความต้องการได้ทันที ไม่ต้องใช้เทคนิคที่สลับซับซ้อนใดๆทั้งสิ้น  สามารถใช้ได้กับระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ โดยไม่มีผลกระทบใดๆต่อสิ่งแวดล้อมและกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน สามารถทำงานย่อยสลายร่วมกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้ดี จุลินทรีย์หอมคาซาม่าทำงานย่อยสลายของเสียได้ทั้งในสภาวะไร้อากาศและมีอากาศ ดังนั้น ถึงแม้ในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนเลย จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำงานย่อยสลายได้ตามแกติ และยังมีคุณสมบัติเด่นๆที่กลุ่มจุลินทรีย์อื่นไม่มี นั่นก็คือ การกำจัดกลิ่นหรือการดับกลิ่นไม่พึงประสงค์นั่นเอง

      

ภาพจำลองบนเป็นปฏิกิริยาการย่อยสลายของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ซึ่งจะได้ก๊าซมีเทนเพิ่มขึ้นมา( CH4 ) เป็นปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในน้ำเสีย

   

ภาพบนการบำบัดน้ำเสียที่ใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน และ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า )  


   

 

Visitors: 36,968