จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย จำหน่ายจุลินทรีย์หอมดับกลิ่นจุลินทรีย์หอมกำจัดกลิ่น

                       

   จุลินทรีย์ คือ อะไร ?? มีความสำคัญในการบำบัดน้ำเสียอย่างไร?

จุลินทรีย์ ( Micro-organism  ) เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ เป็นสัตว์เซลล์เดียวที่มีขนาดเล็ก จุลินทรีย์ทั้งหมดในโลกใบนี้มีหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งมีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยา มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติตามพื้นดิน น้ำ และอากาศ จุลินทรีย์มีทั้งกลุ่มที่มีประโยชน์ กลุ่มที่มีโทษ และกลุ่มที่เป็นกลางตามภาพจำลองด้านล่าง

   

ประเภทของกลุ่มจุลินทรีย์

1.  กลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์หรือกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ คือให้ประโยชน์ต่อต่อพืชและสัตว์ สิ่งแวดล้อม จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะมีอยู่ในธรรมชาติประมาณ  10%  มีทั้งชนิดใช้ออกซิเจน และชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่รักษ์โลก ไม่ให้โลกเต็มไปด้วยมลพิษและมลภาวะ ของเสียและขยะไม่ล้นโลกก็มาจากผลงานของจุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์เหล่านี้ ทั้งกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนและกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนต่างๆให้ประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่

2.  กลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้โทษหรือกลุ่มจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ ในพืชและสัตว์ จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและชนดที่ไม่ใช้ออกซิเจน มีอยู่ในธรรมชาติประมาณ 10% ปัญหาการเกิดการเน่าเหม็น ของเสียต่างๆ โรคสัตว์และโรคพืชก็มาจากจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มทำลายหรือกลุ่มเชื้อโรค สร้างปัญหาหลายๆอย่างด้วยกัน

3.  กลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นกลาง จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะแสดงตัวเป็นกลางๆ สามารถเข้าร่วมงานกับจุลินทรีย์กลุ่มใดก็ได้ในทั้ง 2 กลุ่มด้านบน มีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและชนิดไม่ใช้ออกซิเจน มีอยู่ในธรรมชาติมากที่สุดของจุลินทรีย์ทั้งหมดในโลกนี้คือประมาณ  80%  จุลินทรีย์กลุ่มนี้ไม่มีประโยชน์และไม่มีโทษใดๆ  แต่ถ้าเข้าร่วมงานกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ก็จะกลายไปเป็นมีประโยชน์ทันที  แต่ถ้าเข้าร่วมงานกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีโทษก็จะกลายไปเป็นจุลินทรีย์ที่ให้โทษหรือเชื้อโรค นี่คือบทบามของกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีมากที่สุดในธรรมชาติ

จุลินทรีย์เกี่ยวข้องอย่างไรกับการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี ?

อย่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า จุลินทรีย์มีทั้งให้ประโยชน์ ให้โทษ และเป็นกลาง ในกระบวนการบำบัดน้ำเสียจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หรือให้ประโยชน์เป็นหลัก จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะมาทำหน้าที่ในการย่อยสลายของเสียต่างๆทั้งหมดที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มนี้มีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย  จุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์นี้ให้ประโยชน์ในหลายๆ ด้านด้วยกัน แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงการนำจุลินทรีย์กลุ่มนี้มาใช้งานในการบำบัดน้ำเสียการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ซึ่งต้องพึ่งพาและอาศัยจุลินทรีย์กลุ่มนี้เป็นหลัก ของเสียต่างๆรวมถึงน้ำเสียไม่ล้นโลกก็มาจากผลงานการย่อยสลายของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียกลุ่มนี้เอง จุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์นี้ยังมีการแยกย่อยไปอีก 2 กลุ่มย่อยด้วยกัน คือ

1. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย  

2.กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มนี้สามารถอยู่ได้ทั้งในสภาวะที่มีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจน ซึ่งในกระบวนการบำบัดน้ำเสียต่อไปนี้จึงจะขอกล่าวถึงกลุ่มของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียทั้งสองกลุ่มนี้เป็นหลัก

                                          

1. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่ใช้ออกซิเจน ( ปฏิกิริยาดังภาพบน ) ในการดำรงชีพและการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ( บำบัดน้ำเสีย ) ซึ่งเป็นที่นิยมมากในการบำบัดน้ำเสียโดยการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจน โดยทั่วไปจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนนี้จะอยู่กระจัดกระจายตามพื้นดิน อากาศและน้ำ แต่ต้องมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเท่านั้นจึงจะเจริญเติบโตได้ ดังนั้น จึงต้องมีการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการดำรงชีพของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ( กลุ่มย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ) ขาดออกซิเจนและอาหารไม่ได้อย่างเด็ดขาด จุลินทรีย์กลุ่มนี้ขาดออกซิเจนเมื่อใดมีสิทธิ์ตายยกบ่อบำบัดได้ทุกเมื่อ ซึ่งจะไปส่งผลกระทบอย่างมากต่อการบำบัดน้ำเสีย ถ้าไม่มีจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย น้ำเสียจะเกิดการเน่าเสียอย่างหนัก ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ ( มากกว่า 90% ) จะเป็นระบบบำบัดแบบเติมอากาศหรือระบบ AS ( Activated  Sludge ) ในบ่อบำบัด โดยเฉพาะบ่อเติมอากาศ ต้องมีปริมาณของออกซิเจนมากเพียงพอต่อการนำไปใช้ของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน  อาหารเพียงพอและปริมาณออกซิเจนมากพอสำหรับจุลินทรีย์กลุ่มนี้ จะส่งผลให้การบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ค่ามาตรฐาน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายๆ เพราะปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายมีมากเพียงพอต่อการย่อยสลายของเสียทั้งหมด อันเป็นผลมาจากอาหารและออกซิเจนสมบูรณ์ทั้งสองส่วน ถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่ง ( อาหารและออกซิเจน ) ก็จะเกิดปัญหาขึ้นทันที ติดตามมาด้วยค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์   ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ขั้นตอนสุดท้ายจะได้ผลผลิตตามสมการด้านบน ซึ่งเป็นปฏิกิริยาแบบสมบูรณ์ขั้นสุดท้าย แต่ในความเป็นจริงแล้วการบำบัดน้ำเสียไม่ได้สมบูรณ์แบบ 100% จะยังคงเหลือของเสียที่เป็นกากตะกอนละเอียดหรือตะกอนส่วนเกินบางส่วน ตะกอนส่วนเกินจะเหลือมากหรือเหลือน้อยขึ้นอยู่กับการย่อยสลายของจุลินทรีย์เป็นหลัก การย่อยสลายทำได้มากที่สุด อาจจะเหลือตะกอนส่วนเกินเพียงเล็กน้อยก็เป็นไปได้ 


2.  จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่ไม่ใช้ออกซิเจน  อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียมีทั้งชนิดใช้ออกซิเจน ( ตามข้อ 1 ) และชนิดไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียทั้งคู่  กลุ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนนี้ทำปฏิกิริยาได้ทั้งในสภาวะไร้ออกซิเจนและมีออกซิเจน ทำหน้าที่ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้เช่นเดียวกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก

ปัญหาของการบำบัดน้ำเสีย จุดที่ยากที่สุดก็คือ ปัญหาทางด้านเทคนิคในระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีหลายๆส่วน โดยเฉพาะปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่าน มีกี่ค่า ? ต้องแก้ไขอย่างไร ? ปรับระบบอย่างไร? ซึ่งต้องใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นกรณีพิเศษ ไม่ใช่เพียงแค่การใช้จุลินทรีย์บำบัดแล้วก็จบ ปัญหาทางด้านเทคนิค การปรับลดบางค่า หรือการเพิ่มบางค่าในระบบบำบัดจะพบบ่อยๆ ซึ่งต้องอาศัยผู้ที่รู้ลึกและรู้จริงเท่านั้น การออกแบบระบบบำบัดและสิ่งแวดล้อมในบ่อบำบัด

                 

ภาพบนเป็นโมเดลระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( AS ) ที่พบเห็นทั่วๆไป ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นแบบเติมอากาศตามภาพบนนี้ พบได้ตามอาคารสำนักงานหลายๆแห่ง อาคารชุดคอนโดมิเนี่ยมหลายๆแห่ง ส่วนใหญ่จะใช้โมเดลนี้เป็นหลัก ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ (  AS  ) จะประกอบไปด้วย

1. บ่อรับน้ำเสีย น้ำเสียทั้งหมดจะนำมารวมกันที่บ่อนี้ ( ยกเว้นน้ำเสียจากส้วมหรือชักโครกต้องทำการแยกส่วนออกไปต่างหาก ) การย่อยสลายโดยกลุ่มจุลินทรีย์ในจุดนี้ทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจนจะเกิดขึ้นน้อยมาก ( เมื่อเปรียบเทียบกับบ่อเติมอากาศ ) บ่อนี้จะเน้นการตกตะกอนหนักเบาทั้งหลายโดยวิธีการกรองด้วยการใช้ฟิลเตอร์กรองหยาบหลายชั้น ซึ่งจะช่วยลดค่า SS , TDS และ BOD ได้ในระดับหนึ่งที่มากพอสมควร

2. บ่อเติมอากาศ น้ำเสียจากบ่อแรกจะผ่านไปยังบ่อเติมอากาศ ( บ่อที่ 2 ภาพบน  ) เพื่อให้จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลายของเสียต่างๆที่เป็นสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำเสีย  ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นในจุดนี้หรือบ่อเติมอากาศนี้มากที่สุดในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายจะผ่านเกณฑ์กำหนดหรือไม่ผ่านจึงอยู่ที่ปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียในบ่อนี้เป็นหลัก ถ้าปฏิกิริยาการย่อยสลายเกิดขึ้นได้มาก ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้มาก ของเสียต่างๆเหลือน้อยในบ่อสุดท้าย ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายก็มีโอกาสผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งได้ง่ายขึ้น หัวใจสำคัญในการบำบัดน้ำเสียให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์จึงอยู่ที่ประสิทธิภาพและปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัด จุลินทรีย์ย่อยสลายต้องมีปริมาณมากเพียงพอต่อการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียจึงจะไม่เกิดปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด

3. บ่อตกตะกอนหรือบ่อพักน้ำทิ้ง เป็นบ่อรองรับน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว ( ย่อยสลาย ) จากบ่อเติมอากาศ ( บ่อที่ 2 ตามภาพบน ) นำมาพักไว้ที่บ่อตกตะกอน เพื่อทำการตกตะกอนให้เป็นน้ำใสก่อนที่จะทำการปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมต่อไป บ่อนี้จะมีตะกอนส่วนเกิน ( Excess  Sludge ) ส่วนใหญ่จะเป็นตะกอนละเอียดน้ำหนักเบาตกตะกอนอยู่ก้นบ่อบำบัด ตะกอนส่วนนี้จะถูกนำไปกำจัดฝังกลบหรือไปทำปุ๋ย เพราะมี N และ P เหลือในตะกอนละเอียด หรือในบางแห่งอาจนำตะกอนส่วนเกินนี้เวียนกลับไปบำบัดและย่อยสลายซ้ำในบ่อที่ 1 หรือบ่อเติมอากาศก็สามารถทำได้ การนำตะกอนส่วนเกินไปบำบัดซ้ำหรือการนำตะกอนส่วนเกินไปย่อยสลายซ้ำก็เพื่อให้ของเสียเหลือน้อยที่สุด ( เข้าใกล้ Zero Waste ) ซึ่งจะส่งผลดีต่อค่ามาตรฐาน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้น และยังเป็นอาหารของจุลินทรีย์อีกด้วย

  หัวใจสำคัญในการบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพต้องดูแลและรักษาจุลินทรีย์ย่อยสลายให้ดี อย่าให้ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดลด เพราะจะส่งผลกระทบต่อการย่อยสลายของเสียลดตามไปด้วย ปรับสภาพสิ่งแวดล้อมของระบบบำบัดให้จุลินทรีย์ดำรงชีพและเจริญเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง ในน้ำเสียต้องมีปริมาณของออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆมากพอที่จุลินทรีย์จะนำไปใช้ในการดำรงชีพและการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ( ค่า DO ต้องไม่น้อยกว่า 2 mg/l ) การที่จะทำให้ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นได้จำนวนมากนั้น สิ่งแวดล้อมในบ่อบำบัด ระบบบำบัดต้องเหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายเซลล์ การเติมอากาศต้องกระจายได้ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด ไม่ใช้อากาศถึงเพียงบางจุดหรือจุดใดจุดหนึ่งของบ่อบำบัดเท่านั้น บ่อบำบัดไม่ควรลึกเกิน 3 เมตร เพราะจะส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์โดยตรง น้ำที่เน่าเสียจะมีค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย น้ำจึงเกิดการเน่าเสียขึ้น จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนดำรงชีพอยู่ไม่ได้ จึงไม่มีจุลินทรีย์เข้าไปย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นๆ จึงทำให้เกิดการเน่าเสียขึ้นนั่นเอง การดูแลและบำรุงรักษาระบบบำบัดให้ดีมีประสิทธิภาพก็คือ การดูแลและรักษาจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดหรือในบ่อบำบัดให้เจริญเติบโตดีอย่างต่อเนื่องนั่นเอง เพราะถ้าจุลินทรีย์มีปริมาณน้อยลงหรือลดลงเมื่อใด เมื่อนั้นระบบบำบัดจะเริ่มมีปัญหาทันที ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งแต่ละค่าไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดจะเกิดขึ้นทันที เพราะจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียมีปริมาณน้อย ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียไม่ทัน ของเสียต่างๆในน้ำเสียมีปริมาณมากเกินกำลังการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ทำให้ย่อยสลายได้ไม่หมด ส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์

  สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมของจุลินทรีย์ในบ่อบำบัดคืออะไร ?

กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักจะดำรงชีพและเจริญเติบโตได้ ถ้ามีสิ่งแวดล้อมต่างๆในบ่อบำบัดเหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโต  อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักขาดออกซิเจนไม่ได้  ถ้าในบ่อบำบัดมีออกซิเจนน้อยหรือแทบจะไม่มีค่าออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆเลย ( ค่า DO ต่ำมาก ) จะส่งผลต่อจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนทันที อาจตายเกลี้ยงยกบ่อได้ตลอดเวลา ดังนั้น จึงต้องมีการเช็คค่า DO อยู่เป็นประจำ หรือ กรณีที่น้ำเสียในบ่อบำบัดนั้นๆมีค่า pH ต่ำมากๆ หรือ สูงมากๆ ก็จะส่งผลให้จุลินทรีย์ตายยกบ่อได้ทุกเมื่อ นี่คือ ความสำคัญและบทบาทของจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศที่ต้องบริหารจัดการระบบให้เป็น มีความรู้และความเข้าใจในระบบพอสมควรจึงจะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพได้ ปัญหาทางด้านเทคนิคในระบบบำบัดสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำนด ระบบล้มเหลวบ่อยๆหรือเป็นประจำ ระบบมีปัญหาในหลายๆเรื่องก็มาจากจุดนี้ ในการแก้ไขปัญหาต้องอาศัยความรู้และความเชี่ยวชาญในระบบจึงจะสามารถแก้ไขได้ การบริหารจัดการระบบต้องแม่นยำในทุกๆด้าน การบำรุงรักษาต้องมีประสิทธิภาพ ระบบจึงจะออกมาดีมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ตลอดเวลา  

  การบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า

   จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย เกิดจากการสังเคราะห์รวมกลุ่มกันของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายหลายๆสายพันธุ์นำมารวมกันไว้ในที่เดียวกัน ดังนั้น ไม่ว่าในน้ำเสียนั้นๆจะมีหรือไม่มีออกซิเจนเลยก็ตาม จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียได้ตามปกติ ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อระบบบำบัดและสิ่งแวดล้อมทั่วไป เป็นตัวเพิ่มและเสริมประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ช่วยลดภาระหนักในการย่อยสลายของเสียให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน เป็นการเพิ่มกำลังการย่อยสลายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ของเสียต่างๆในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้มากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติทั่วๆไป ช่วยเติมเต็มระบบบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบบำบัด โดยเแพาะระบบบำบัดน้ำเสียแบบเต็มอากาศ AS  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียได้มากขึ้นและเร็วขึ้น เป็นผลดีต่อระบบบำบัดโดยตรง อีกทั้งยังมีคุณสมบัติในด้านการดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสียได้เป็นอย่างดี

      

ภาพบนเป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์หอมคาซาม่า จะได้ผลลัพธ์เพิ่มมาอีกตัวก็คือ ก๊าซมีเทน ( CH4 ) ผลพลอยได้จากการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาจะได้ก๊าซมีเทนตามภาพจำลองด้านบน ก๊าซมีเทนถ้ามีเป็นจำนวนมากสามารถนำไปประยุกต์เป็นพลังงานกลับมาใช้ใหม่ได้ 

ภาพบนเป็นโมเดลปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลาย 2 กลุ่ม คือ จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจน และ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) ซึ่งจะส่งผลให้ระบบบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียได้มากขึ้นและเร็วขึ้น ไม่เป็นภาระหนักให้กับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน

  สรุปในการบำบัดน้ำเสียและกระบวนการบำบัดน้ำเสีย    

อย่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า การบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัดน้ำเสียจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียทั้งสิ้น  และจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียก็จะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น ซึ่งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆยังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะการดำรงชีพและทำปฏิกิริยา คือ กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก และ กลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน  ดังนั้น ในการบำบัดน้ำเสียจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งสองกลุ่มนี้เป็นหลัก แต่ในการบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะนิยมใช้จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนมากที่สุด จึงมีการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ เพื่อรองรับการดึงกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนมาใช้งานนั่นเอง แต่เมื่อใดก็ตามที่มีปัญหาระบบบำบัดมีปริมาณจุลินทรีย์ไม่เพียงพอหรือมีจุลินทรีย์ย่อยสลายน้อยในบ่อบำบัดหรือระบบบำบัดมีปัญหา ทำให้น้ำเน่าเสียปะทุขึ้นมา เมื่อใดก็ตามที่ระบบมีปัญหาในด้านต่างๆ ทั้งปัญหาทางด้านเทคนิค ปัญหาระบบบำบัดขาดการบำรุงรักษา ปัญหาค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านบ่อยๆ ระบบบำบัดและบ่อบำบัดไม่ตอบสนองต่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ฯลฯ ระบบก็จะล้มเหลวได้ง่ายๆ

เราคือผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบ ตอบโจทย์การบำบัดน้ำเสียที่ระบบบำบัดมีปัญหาจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนไม่เพียงพอ ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าทดแทนได้ทันที เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียเข้าไปในระบบได้มากตามความต้องการทันที เพิ่มประสิทธิภาพและเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติเป็นจุลินทรีย์กำจัดกลิ่นหรือจุลินทรีย์ดับกลิ่นในบ่อบำบัดน้ำเสียได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นมาอีก เพิ่มประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสีย ใช้จุลินรีย์หอมคาซาม่าบำบัดน้ำเสียได้ประโยชน์อย่างน้อย 2 ประการคือ การบำบัดน้ำเสีย การย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย และการกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นน้ำเน่าเหม็นน้ำเน่าเสีย ดับกลิ่นน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็นในบ่อบำบัด ใช้แล้วกลิ่นหอมทันทีต้องจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเท่านั้น โปรดระวังของลอกเลียนแบบ รู้ลึกและรู้จริงในเรื่องการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ต้องที่นี่.. เราให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรีๆกับลูกค้าทุกๆท่านที่สั่งซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปจากที่นี่...รวมทั้งให้คำแนะนำและคำปรึกษาทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาเกิดขึ้นปรึกษาได้ฟรีๆ

ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์หอมคาซาม่า  แกลลอนละ  1,200 บาท

 

        

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมดับกลิ่นเน่าเหม็นของเราเน้นความเข้มข้นสูง ไม่มีเก่าเก็บ ดับกลิ่นเน่าเหม็นได้รวดเร็ว ประการสำคัญคือ กลิ่นหอมทันทีที่นำไปใช้ดับกลิ่นห้องน้ำ หรือดับกลิ่นบ่อเกรอะ ดับกลิ่นบ่อบำบัดน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็น หรือฟาร์มปศุสัตว์อย่างฟาร์มสุกรที่ส่งกลิ่นเหม็นของมูลสุกร ต้องจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเท่านั้น.... 

 

Visitors: 34,355