จำหน่ายน้ำยาดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น/น้ำยาดับกลิ่นส้วมเหม็น



มีปัญหาห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น? ห้องน้ำส่งกลิ่นแรง? ท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็น? ท่อระบายน้ำทิ้งในห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็น? ชักโครกส่งกลิ่นเหม็น? อ่างล้างมือมีกลิ่นขึ้นมา? ส้วมส่งกลิ่นแรง? เหม็นกลิ่นส้วม? โถปัสสาวะส่งกลิ่นแรง? แก้ไขได้ง่ายๆแบบธรรมชาติบำบัด ไม่ต้องใช้สารเคมีใดๆให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้ใช้ห้องน้ำห้องส้วม ใช้น้ำยาดับกลิ่นห้องน้ำ จุลินทรีย์หอมคาซาม่า กลิ่นหอมทันทีที่ใช้งานทำความสะอาดห้องน้ำ เปลี่ยนกลิ่นเหม็นให้เป็นกลิ่นหอมได้ทันที
กลิ่นเหม็นในห้องน้ำหรือกลิ่นไม่พึงประสงค์ใดๆในห้องน้ำ ส่วนใหญ่มาจากการหมักหมมของสารอินทรีย์ต่างๆที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของเราในห้องน้ำ ทั้งการทำความสะอาดร่างกาย การซักล้าง การถ่ายหนักถ่ายเบาทั้งหลาย ล้วนเป็นที่มาของกลิ่นไม่พึงประสงค์ทั้งสิ้น และของเสียทั้งหลายเหล่านี้ ก็จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เพียงแต่ปริมาณจุลินทรีย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติอาจมีปริมาณน้อยกว่าปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น อีกทั้งของเสียที่เกิดขึ้นในห้องน้ำห้องส้วมเมื่อหมักหมมกันนานๆเข้าก็จะเกิดการเน่าเสีย จึงเกิดปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นนั่นเอง  การแก้ไขปัญหานี้ทำได้หลากหลายวิธี แต่วิธีที่ปลอดภัยมากที่สุดและเป็นธรรมชาติมากที่สุดก็คือ การใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายและบำบัดกลิ่นไม่พึงประสงค์เหล่านี้ ซึ่งก็คือ การเลียนแบบธรรมชาติบำบัดนั่นเอง ไม่มีสารเคมีตกค้างในดินและสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อพืชและสัตว์ทุกชนิด

 
  จุลินทรีย์หอมคาซาม่า คืออะไร?
จุลินทรีย์หอมคาซาม่า คือกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและมีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียบำบัดน้ำเสียและการดับกลิ่นเน่าเหม็นที่เกิดจากสารอินทรีย์ทั้งหลาย ซึ่งลูกค้าบางรายมักจะเรียกว่า น้ำยาดับกลิ่นห้องน้ำ เป็นสารธรรมชาติสิ่งมีชีวิตหรือจุลชีพขนาดเล็กไม่ใช่สารเคมี บนโลกใบนี้ถ้าขาดจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียต่างๆแล้ว ขยะก็คงจะล้นโลกใบนี้ไปแล้ว จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ทำงานย่อยสลายและดับกลิ่นได้ทั้งในสภาวะไร้อากาศและในสภาวะที่มีอากาศ ดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆได้อย่างรวดเร็ว กลิ่นหอมทันทีที่ใช้งาน

 ปัญหากลิ่นในห้องน้ำ

ในห้องน้ำที่มีผู้ใช้จำนวนมากมักจะมีปัญหาในเรื่องของกลิ่นไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น ทั้งกลิ่นเหม็นจากชักโครก กลิ่นเหม็นจากท่อน้ำทิ้ง กลิ่นคาว กลิ่นปัสสาวะหรือกลิ่นฉี่ ห้องน้ำบางแห่งถึงกับต้องปิดจมูก เพราะกลิ่นรุนแรงมาก โดยเฉพาะห้องน้ำสาธารณะหลายๆแห่งที่ขาดการดูแล ในการกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในห้องน้ำ  ส่วนใหญ่ยังคงนิยมใช้สารเคมีกัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจของผู้ใช้ห้องน้ำได้ง่ายๆ ใช้สารเคมีในห้องน้ำบ่อยๆอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้  ปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในห้องน้ำมีแหล่งที่มาจากจุดใดบ้าง ?

1. กลิ่นเหม็นจากชักโครกหรือคอห่าน  อาจมีสิ่งปฏิกูลของเสียต่างๆที่ติดอยู่ตามซอกของชักโครกที่เราทำความสะอาดไปไม่ถึง ทำให้เกิดปัญหากลิ่นขึ้นได้ หรือกลิ่นตีกลับขึ้นมาจากบ่อเกรอะ เวลาที่เราชักโครกหรือเทน้ำราดส้วม กลิ่นจากบ่อเกรอะจะตีกลับสวนทางขึ้นมาออกที่ชักโครกได้ นี่คือที่มาของกลิ่นเหม็นที่ชักโครก

2. กลิ่นเหม็นท่อระบายน้ำทิ้งหรือฟอร์เดรน  ห้องน้ำบางแห่งอาจมีจุดระบายน้ำทิ้งมากกว่า 1 จุด กลิ่นไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นได้ 2 กรณีด้วยกันคือ กลิ่นที่มาจากของเสียสิ่งสกปรกต่างๆที่เกาะติดอยู่ตามท่อลำเลียงน้ำเสียน้ำทิ้งจากห้องน้ำ าจทำให้เกิดกลิ่นขึ้นได้ กรณีที่ 2 กลิ่นไม่พึงประสงค์เดินทางมาจากบ่อเกรอะ กรณีนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการต่อท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำเชื่อมเข้ากับบ่อเกรอะ ซึ่งพบบ่อยๆ โดยทั่วๆไปต้องแยกท่อน้ำทิ้งออกจากบ่อเกรอะ ( น้ำเสียแยกคนละบ่อ ) แต่ส่วนใหญ่จะต่อท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำเข้ากับท่อลำเลียงบ่อเกรอะ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาติดตามมาคือ กลิ่นจากบ่อเกรอะลอยขึ้นมาตามท่อลำเลียง แล้วออกตามจุดต่างๆที่มีการเชื่อมต่อ กลิ่นมีโทเลกุลมวลเบาจะลอยขึ้นสู่ที่สูงและกระจายไปทั่วบริเวณ

3. กลิ่นคาวและกลิ่นปัสสาวะ ( กลิ่นฉี่ ) มาจากจุดทั้งชักโครกและโถปัสสาวะ ( ถ้ามี ) 

4. กลิ่นอื่นๆ

กลิ่นไม่พึงระสงค์ต่างๆในห้องน้ำทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าส่วนใหญ่ไปจากผู้ใช้ในห้องน้ำทั้งนั้น หรือกลิ่นส่วนใหญ่ก็มาจากกิจกรรมของมนุษย์ในห้องน้ำนั่นเอง โดยเฉพาะสิ่งปฏิกูลต่างๆ ทั้งอุจจาระและปัสสาวะ ล้วนมีกลิ่นทั้งสิ้น ถ้าดูแลและทำความสะอาดได้ไม่ดีพอ ก็จะสร้างปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์ขึ้นได้  บรรดาของเสียและสิ่งปฏิกูลทั้งหมดทั้งมวลในห้องน้ำจะถูกย่อยสลายหรือบำบัดโดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลาย ยิ่งการย่อยสลายของเสียต่างๆเกิดขึ้นได้สมบูรณ์มากเท่าไร กลิ่นไม่พึงประสงค์ก็จะไม่ค่อยมีปรากฎ ที่มาของกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆก็มาจากของเสียที่เป็นสารอินทรีย์ ดังนั้น ในการบำบัดของเสียเหล่านี้จึงต้องใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายเป้นหลัก ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียมีทั้งชนิดที่ใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งมีอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ แต่มีปริมาณน้อย เพราะอยู่แบบกระจัดกระจายไม่เป้นกลุ่มก้อนที่มีปริมาณมาก  ของเสียมีมากกว่าปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายจึงเกิดปัญหาเรื่องกลิ่นขึ้นมา 

   ปัญหากลิ่นจากบ่อเกรอะ

บ่อเกรอะ คือ บ่อรับของเสียและสิ่งปฏิกูลทั้งหมดทั้งมวลที่มาจากชักโครกหรือส้วม จะมาลงที่บ่อเกรอะทั้งหมด บ่อเกรอะมีทั้งชนิดใช้ถังแซทและบ่อปูน ของเสียและสิ่งปฏิกูลทั้งหมดที่มารวมกันที่บ่อเกรอะ ปัญหาเรื่องกลิ่นยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น กลิ่นเหม็นจากบ่อเกรอะจะกระจายออกไปตามจุดต่างๆที่มีช่องทางออก เช่น ท่อระบายอากาศ หรือ กลิ่นลอยไปตามท่อลำเลียงที่มีการต่อเชื่อมเข้ากับบ่อเกรอะ กรณีที่ในห้องน้ำมีการต่อท่อน้ำทิ้งเข้ากับบ่อเกรอะ ก็จะเกิดปัญหาเรื่องกลิ่นจากบ่อเกรอะอย่างแน่นอน  ห้องน้ำหลายแห่งจะมีการต่อท่ออ่างล้างมือ โถปัสสาวะ ท่อน้ำทิ้งทุกๆจุด ไปต่อเชื่อมลงไปที่บ่อเกรอะ ซึ่งจะสร้างปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นที่มาจากบ่อเกรอะ

   การแก้ไขปัญหาห้องน้ำส่งกลิ่นเหม็นและบ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็น

ต้องใช้จุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นธรรมชาติบำบัด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนหรือกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนก็ได้ทั้งนั้น ซึ่งเป็นการบำบัดที่ต้นเหตุและตรงจุดมากที่สุด 

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นห้องน้ำและบ่อเกรอะได้อย่างไร ?

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา และมีคุณสมบัติเด่นๆในเรื่องของการดับกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ทุกๆชนิดที่มีที่มาจากสารอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นเหม็น กลิ่นคาว กลิ่นบูดเน่า ฯลฯ บรรดากลิ่นห้องน้ำทั้งหมดในทุกๆจุด จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถดับกลิ่นเหล่านี้ครอบคลุมได้ทุกๆกลิ่นในห้องน้ำห้องส้วม รวมไปถึงกลิ่นจากบ่อเกรอะหรือกลิ่นบ่อเกรอะเหม็น บ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็นก็จะครอบคลุมไปด้วย การใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าดับกลิ่นห้องน้ำได้แล้วยังมีประโยชน์ไปทำการบำบัดน้ำเสียอีกต่อหนึ่งในบ่อเกรอะ ซึ่งการเติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าลงในชักโครกก็จะลงไปรวมกันที่บ่อเกรอะ ดังนั้น จะมีการย่อยสลายของเสียและสิ่งปฏิกูลต่างๆในบ่อเกรอะอีกต่อหนึ่ง ( บำบัดน้ำเสียในบ่อเกรอะ ) จะช่วยให้บ่อเกอระไม่เต็มง่ายหรือส้วมไม่เต็มง่ายนั่นเอง และยังช่วยกำจัดกลิ่นในบ่อเกรอะ ซึ่งจะได้รับประโยชน์ทั้งการดับกลิ่นและการบำบัดน้ำเสียโดยตรงในบ่อเกรอะ

     

     ภาพบนเป็นปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจน )

ผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์ดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) จุลินทรีย์กำจัดกลิ่นเหม็นห้องน้ำ ดับกลิ่นบ่อเกรอะส่งกลิ่นเหม็น กลิ่นหอมทันทีที่เริ่มใช้งาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง ช่วยลดมลพิษและมลภาวะของเสียต่างๆที่เกิดจากสารอินทรีย์
 
    การใช้น้ำยาดับกลิ่นส้วมเหม็น ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า )
 
โดยการใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าทำความสะอาดตามพื้น ตามโถส้วม  ตามท่อน้ำทิ้งให้ทั่วๆ แล้วล้างออกออกด้วยน้ำสะอาด  ปฏิบัติเช่นนี้เป็นประจำจะทำให้ส้วมไม่มีกลิ่นเหม็น
 
  จุลินทรีย์หอมคาซาม่าหรือน้ำยาดับกลิ่นห้องน้ำเหม็นดับกลิ่นอะไรได้บ้าง ?

1. กลิ่นเน่าเหม็นจากสารอินทรีย์ ( สารที่มาจากพืชและสัตว์ )

2. กลิ่นเหม็นในบ่อเกรอะ กลิ่นเหม็นส้วม กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆในห้องน้ำ

3. กลิ่นเหม็นจากปัสสาวะและอุจจาระทั้งคนและสัตว์เลี้ยงทุกชนิด

4. กลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสีย ที่เกิดจากการเก็บของเสียต่างๆในบ่อบำบัดน้ำเสียทำให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็นขึ้นมา

5. กลิ่นคาวเลือดหรือคาวปลาในโรงงานเชือดไก่ เชือดสุกร หรือโรงงานเชือดปลา เป็นต้น

6. กลิ่นจากบ่อขยะ หรือกลิ่นจากถังขยะที่ส่งกลิ่นเหม็นฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ

7. กลิ่นเหม็นจากท่อระบายน้ำทิ้ง กลิ่นเหม็นจากน้ำที่เน่าเสีย

8. กลิ่นเน่าเหม็นจากไขมัน จากบ่อดักไขมันตามร้านอาหารหรือโรงอาหาร เป็นต้น

9. กลิ่นเหม็นจากการหมักพืชและสัตว์

10. กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆที่นอกเหนือไปจากที่กล่าวมาทั้งหมด

เรา คือ ผู้ผลิตและจำหน่ายจุลินทรีย์หอม-Kasama ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียและกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ สังเคราะห์ขึ้นจากหัวเชื้อต้นฉบับโดยตรง ไม่ใช่การหมักจากพืชผักหรือเปลือกผลไม้ มีความเข้มข้นและหนาแน่นของปริมาณจุลินทรีย์สูง ไม่เก่าเก็บ ใช้งานได้ทันทีและสามารถเก็บไว้นานเป็นปีขึ้นไปได้ มีอาหารเลี้ยงเชื้อตลอดเวลา ดังนั้น จุลินทรีย์จึงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

               

   

                                 <<  กลับหน้าแรกน้ำยาดับกลิ่นห้องน้ำเหม็น  >> 
Visitors: 34,373